วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

ความงามในศิลปะที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยอาศัยหลักคณิตศาสตร์

ศิลปะ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
   ในสมัยโบราณ นักปราชญ์ได้ให้ความหมายของศิลปะ (Art) ไว้ว่า ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ   เพราะฉะนั้น  ต้นไม้ ภูเขา ทะเล น้ำตก  ความงดงามต่าง ๆ ตามธรรมชาติจึงไม่เป็นศิลปะ  ดอกไม้ที่เห็นว่าสวยสดงดงามนักหนาก็ไม่ได้เป็นศิลปะเลย  ถ้าหากเรายึดถือตามความหมายนี้แล้ว  สิ่งที่มนุษย์สร้างสร้างขึ้นทั้งหลาย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นศิลปะทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น   ภาพวาด  ภาพพิมพ์      งานปั้น งานแกะสลัก เสื้อผ้าอาภรณ์  เครื่องประดับ ที่อยู่อาศัย  ยานพาหนะ  เครื่องใช้สอย  ตลอดจนถึงอาวุธที่ใช้รบราฆ่าฟันกัน ก็ล้วนแต่เป็นศิลปะทั้งสิ้นไม่ว่ามนุษย์สร้างสิ่งที่ดีงาม เลิศหรูอลังการ  หรือน่าเกลียดน่าชังอย่างไรก็ตาม ล้วนแต่เป็นงานศิลปะอย่างนั้นหรือไม่ ?
 
 


คณิตศาสตร์กับศิลปะเครื่องปั้นดินเผา













`คณิตศาสตร์`ผสาน`ศิลปะ`สร้างสรรค์ลายปัก


"วิชาคณิตศาสตร์" อาจจะเป็นยาขมสำหรับใครหลายๆ คนในช่วง วัยเรียน เพราะเป็นวิชาที่มีเรื่องของตัวเลข มีสัญลักษณ์รูปทรงแปลกๆ ซับซ้อนเข้าใจยาก ต้องใช้ทักษะทั้งความจำ และการคิดคำนวณ จึงกลายเป็นอีกหนึ่งวิชาเด็กส่วนใหญ่ "ส่ายหน้า" ไม่อยากเรียน
แต่สำหรับ "โรงเรียนชุมชนบ้านท่าสองยาง" อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ที่แม้จะตั้งอยู่ประชิดติดแนวชายแดนไทย-พม่า และ เด็กนักเรียนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง แต่วิชา "คณิตศาสตร์"กลับไม่ใช่ปัญหาเพราะที่โรงเรียนแห่งนี้ใช้วิธีบูรณาการการสอนแบบ โครงงาน จนสามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ จนได้รับรางวัลการแข่งขันในระดับประเทศมากมาย
แม้ "ทักษะวิชาการ" จะไม่น้อยหน้าโรงเรียนใหญ่ในเมือง แต่ปัญหา "ปากท้อง" ก็มีความสำคัญไม่น้อยที่ส่งผลต่อ "การเรียนรู้" ของเด็กๆ ดังนั้นการหา "อาชีพเสริม" ในระหว่างเรียนจึงเป็นอีกหนทางหนึ่ง ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัว  "โครงการคณิตสู่รายได้" ภายใต้โครงการ "ส่งเสริมนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ" จึงเกิดขึ้นเพื่อสร้างรายได้เสริม เพิ่มโอกาสการเรียนรู้ จากงาน "คณิตศิลป์" ที่บูรณาการศิลปะ ทักษะอาชีพ ควบคู่ไปกับวิชาคณิตศาสตร์ โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
"นางศิริรัตน์ คำแก้ว" ครูผู้รับผิดชอบโครงการฯ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาเคยได้รับรางวัล "ทุนครูสอนดี" จาก สสค. โดยทุนที่ได้รับได้ นำมาพัฒนาเป็น "ศูนย์ฝึกเบเกอรี่ชุมชน" เพื่อสร้างอาชีพสร้างรายได้ ให้กับเด็กนักเรียนและผู้ปกครอง แต่โครงการดังกล่าวยังไม่สามารถสร้าง รายได้ให้เด็กๆ ได้ครบทุกคน เพราะเป็นการฝึกทักษะอาชีพวันอาทิตย์ ซึ่งในวันหยุดมีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ต้องไปช่วยผู้ปกครองทำงานในไร่ในสวนของที่บ้าน จึงคิดว่าน่าจะมีอาชีพที่พวกเขาสามารถ "ทำอยู่ที่บ้าน" ในยามว่างได้ ประกอบกับเป็นครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ จึงนำเอาลวดลายหรือรูปทรงทาง เรขาคณิตพื้นฐานทั้ง 8 ลาย ที่ประกอบ ไปด้วย รูปทรงวงกลมแบบที่ 1 และ แบบที่ 2, รูปทรงสามเหลี่ยมแบบที่ 1 และสามเหลี่ยมแบบที่ 2, รูปทรง สี่เหลี่ยมผืนผ้า, รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปทรงแปดเหลี่ยม และ รูปหัวใจและนำ "ลายประยุกต์" อีก 20 ลวดลาย มาผสมผสานกับการเย็บปักถักร้อยด้วยเส้นด้ายหลากสีสัน จนเกิดเป็นงานศิลปะที่มีความสวยงามแปลกตา
"งานคณิตศิลป์เป็นการเอาเส้นตรงมาทำให้เกิดเป็นรูปร่างและรูปทรงต่างๆ ขึ้นมา พูดง่ายๆ ว่าเป็นการสร้างรูปภาพต่างๆ ขึ้นมาจากรูปทรงทางเรขาคณิต แทนที่จะใช้ การขีดเส้นก็เปลี่ยนมาเป็นการปักเส้นด้ายเป็นเส้นตรงไปตามจุดต่างๆ ที่กำหนดไว้ ปักซ้อนทับ ผสมผสานกันระหว่างรูปทรงต่างๆ จนขึ้นเป็นภาพ ตรงนี้เด็กนักเรียนก็จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องรูปทรงเรขาคณิต การวัด คู่อันดับ ฯลฯ สอดแทรกเข้าไปโดยไม่รู้ตัว อย่างน้อยก็ทำให้เด็กไม่กลัววิชาคณิตศาสตร์ มองเห็นความสวยงามในวิชาคณิตศาสตร์ เรียนหนังสือได้อย่างมีความสุข ซึ่งในอนาคตเขาก็สามารถต่อยอดพัฒนาไปเป็นอาชีพได้ในกรณีที่อาจจะไม่ได้เรียนต่อ เพราะลงทุนน้อยมีแค่กระดาษ ด้ายและเข็มเท่านั้น" ครูศิริรัตน์กล่าวน.ส.ศรีวรรณ เพียรตา หรือ "ดาว" นักเรียนชั้น ม.3 เล่าว่า รูปภาพต่างๆ ที่เกิดขึ้นมานั้น เกิดจากเส้นตรงหลายๆ เส้นที่มาวางซ้อนกัน จนดูเหมือนว่าเป็นเส้นโค้ง ครั้งแรกที่เห็นทุกคนจะพูดเหมือนกันว่าน่าจะยาก แต่พอได้รู้วิธีการและได้ลงมือทำจริงๆ แล้วไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพียงแต่เราจะต้องรู้จักลายพื้นฐานทั้ง ก่อน ไม่อย่างนั้นก็จะไม่สามารถปักลายได้
"การผลิตงานคณิตศิลป์นอกจากจะทำให้มีรายได้ระหว่างเรียนแล้ว ยังทำให้เราใจเย็นขึ้น มีสมาธิมากขึ้น เพราะการปักด้ายต้องตั้งใจ ทำอย่างประณีต ใจร้อนก็ไม่สามารถปักได้ เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ จากที่ไม่เคยชอบวิชาคณิตศาสตร์ ตอนนี้ก็รู้สึกว่ามีความน่าสนใจมากขึ้น"น้องดาวบอก
น.ส.ณิชกานต์ กออนันตเลิศ หรือ "น้อย" นักเรียนชั้น ม.3 กล่าวเสริมว่าการเรียนรู้เรื่องลวดลายพื้นฐานนั้น ใช้เวลาในวันหยุดเสาร์อาทิตย์เพียงแค่สัปดาห์ละ 1 วัน มาประมาณ 2 ครั้งก็สามารถทำได้แล้ว แต่สำหรับลวดลายประยุกต์นั้นอาจจะต้องใช้ทักษะฝีมือและประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น
"ลายประยุกต์ต้องฝึกหัดกันบ่อยๆ ถึงจะทำได้คล่อง ส่วนมูลค่า ของชิ้นงานแต่ละชิ้นจะถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับความละเอียด ความยากง่าย และเรียบร้อยของชิ้นงาน งานที่มีลวดลายละเอียดสีสันสวยงามที่ปักในกระดาษ ขนาด เอ 4 จะจำหน่ายพร้อมใส่กรอบรูปในราคา 250 บาท" น้องน้อยกล่าวด.ญ.กชนุช ดารากมล หรือ "มูพอ" นักเรียนชั้น ม.2 เล่าว่า แรกๆ ก็ไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ แต่พอเห็นชิ้นงานของพี่ๆ ที่ทำออกมาก็เกิดความสนใจ เพราะนอกจากจะสวยงามแล้วก็ยังขายได้ด้วย ที่สำคัญยังได้ออกไปแสดงฝีมือและขายผลงานยังสถานที่ต่างๆ ที่ไม่เคยไป
"การทำงานตรงนี้ทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องต่างๆ ในวิชาคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆ กัน เช่น เรื่องเส้นตรง เส้นโค้งคู่อันดับ การกำหนดจุด การแปลงค่าทางเรขาคณิต การสะท้อน เรื่องคู่อันดับ กราฟ สถิติ ที่สามารถนำไปใช้ในห้องเรียนได้ และยังเป็นการนำเอาเรื่องของศิลปะมาผสมผสานให้เกิดชิ้นงานที่มีความสวยงามและ ความน่าสนใจ" น้องมูพอบอกซึ่งในตอนนี้ทั้ง 3 คนเล่าให้ฟังอย่างภาคภูมิใจว่ามีเงินรายได้ที่เก็บสะสมจากการผลิตชิ้นงานต่างๆ เฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่าคนละ 1,000 บาท ซึ่งเงินเหล่านี้จะถูกแปรสภาพไปเป็นหุ้นในสหกรณ์ออมทรัพย์ของโรงเรียนเพื่อเก็บไว้ใช้เป็น "ทุน" สำหรับการศึกษา ต่อหรือประกอบอาชีพในอนาคตเมื่อพวกเขาจบการศึกษา นอกจากนี้ ผลงาน "คณิตศิลป์" ของโรงเรียนแห่งนี้ยังถูกต่อยอดพัฒนาเป็น ผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาทิ แก้วกาแฟ พวงกุญแจ จานรองแก้ว แผ่นจิกซอว์ ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ในระหว่างการประสานงานเพื่อพัฒนาเป็นสินค้า OTOP ของอำเภอ พร้อมจัดหาสถานที่จำหน่าย ซึ่งจะทำให้การดำเนินโครงการเกิดความยั่งยืน และสร้างรายได้เสริม ที่มั่นคงสำหรับเด็กๆ มากยิ่งขึ้น
"คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ถูกมองว่าเป็นวิชาที่เกี่ยวกับตัวเลขมีความยากและซับซ้อน แต่ศิลปะถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถดึงดูดความสนใจของนักเรียนให้มีความชอบที่จะเรียนมากขึ้น เพราะศิลปะเป็นวิชาที่ไม่มีผิดไม่มีถูก ทุกคนสามารถเรียนได้ อย่างน้อยที่สุดเด็กก็จะเกิดเจตคติที่ดีกับวิชาคณิตศาสตร์ แต่สิ่งเหล่านี้คงไม่ได้ช่วยให้ เขาเรียนเก่งขึ้นแบบเห็นความแตกต่างชัดเจน แต่จะช่วยให้เขาได้เรียนรู้ เรื่องราวต่างๆ ในวิชาคณิตศาสตร์ผ่านการผลิตชิ้นงาน แม้ว่าเขาจะจบออกไปแล้วไม่ได้เรียนต่อ ต้องไปช่วยงานบ้านเขาก็สามารถที่จะมีรายได้จากการผลิตชิ้นงานในยามว่าง เป็นอาชีพเสริมที่มองเห็นรายได้ ชัดเจน" ครูศิริรัตน์กล่าวสรุป










ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า

คณิตศิลป์ กับ Origami

คณิตศิลป์  ศิลปะการพับกระดาษเป็นการฝึกสมองให้คิด ถ้าได้ออกแบบการสร้างสรรค์การพับกระดาษเป็นรูปทรงต่างๆ เป็นการช่วยให้คุณมีความคิดสร้างสรรค์ ได้รวบรวมงานคณิตศิลป์
     Origami ศิลปะพับกระดาษของญี่ปุ่น รูปทรงต่างเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น ปริซึม ทรงสี่เหลี่ยม  ทรงสามเหลี่ยม  ทรงหลายเหลี่ยม ฯลฯ


     กระดาษต่างๆ ที่ใช้ในการพับ
- กระดาษปอนด์  กระดาษชนิดนี้เป็นกระดาษที่หาได้ตามร้านเครื่องเขียนทั่วๆไป จะขายเป็นรีม อาจจะเรียกว่ากระดาษถ่ายเอกสาร จะมีหลายขนาด แต่ที่พบบ่อยๆก็คือ กระดาษ A4 ซึ่งเป็นกระดาษที่ใช้กันทั่วไป


 - กระดาษคราฟท์สำหรับกระดาษคราฟท์ จะเป็นกระดาษเนื้อหยาบ มักจะเป็นสีน้ำตาล แต่ก็มีแบบที่เป็นสีขาว เรียกว่ากระดาษคราฟท์ฟอกขาว สามารถหาซื้อได้ตามร้านเครื่องเขียนใหญ่ๆ โดยมักจะขายเป็นม้วน กระดาษคราฟท์โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้เป็นกระดาษเพื่อฝึกการพับได้ดี


 - กระดาษปรู๊ฟกระดาษชนิดที่สามเรียกว่ากระดาษปรู๊ฟ จะขายเป็นม้วนๆเหมือนกัน มีราคาถูก คุณสมบัติของกระดาษคือจะเป็นกระดาษที่ค่อนข้างบาง และเนื้อเหนียว เป็นเนื้อกระดาษแบบเดียวกับที่ใช้พิมพ์
หนังสือพิมพ์ สามารถใช้พับได้ดี


 -   หรือจะเป็นกระดาษสีกระดาษห่อของขวัญ หรือกระดาษที่มีลวดลายสวยงาน ที่สามารถนำมาพับกระดาษสร้างงาน คณิตศิลป์ได้
-งานพับกระดาษ Origami หลายๆ รูปแบบที่เราสามารถค้นคว้าได้เองตามอินเตอร์เน็ต





คณิตศาสตร์กับศิลปะ

คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ทุกคนมองภาพว่าเป็นวิชาที่เกี่ยวกับตัวเลขมีความยากและซับซ้อน  การเรียนต้องอาศัยความตั้งใจสูงและสิ่งที่ตามมาคือ  ความเครียด  ความวิตกกังวล  ตลอดจนความล้มเหลวทางการเรียนในที่สุด  ความรู้สึกและความคิดเหล่านี้เป็นสาเหตุให้ในปัจจุบันมีผู้ศึกษาในสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มีน้อยลงจนขาดแคลน  ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขเป็นการด่วน  มิฉะนั้นแล้วประเทศไทยจะต้องเข้าสู่ภาวะที่ล้มเหลวทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างแน่นอน  เพราะขาดบุคลากรทางด้านนี้นั่นเอง
แนวทางแก้ไขที่ทำได้คือ  การที่จะต้องทำให้นักเรียนเปลี่ยนความรู้สึกจากที่ว่าวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยาก  เรียนแล้วเครียด  น่าเบื่อหน่าย  มาเป็น  วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เรียนแล้วสนุก  มีความน่าสนใจ  เป็นการผ่อนคลายความตรึงเครียด  และเป็นการสร้างจินตนาการทางการคิดที่กว้างไกล

ศิลปะถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถดึงดูดความสนใจของนักเรียนให้มีความชอบที่จะเรียนมากขึ้น  เพราะศิลปะเป็นวิชาที่ไม่มีผิดไม่มีถูก  ทุกคนสามารถเรียนได้  และส่วนใหญ่ก็มีความชอบอยู่แล้วเป็นทุนเดิม  วิชาคณิตศาสตร์กับศิลปะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออกเลยที่เดียว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาระเรขาคณิต  ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานของศิลปะก็ว่าได้  ดังนั้นในการเรียนการสอนเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ในส่วนของเรขาคณิตก็น่าจะใช้กิจกรรมเกี่ยวกับศิลปะที่เกิดจากเส้นตรง  มุม  ฯลฯ  มาให้นักเรียนได้ปฏิบัติในรูปแบบต่าง ๆ เช่น  วาดภาพ  ต่อรูป  โยงเส้น  ระบายสี  ฯลฯ

การพับกระดาษเรขาคณิตทรงลูกบาศก์ (Modular Origami Cube)

การพับกระดาษเรขาคณิตทรงลูกบาศก์ (Modular Origami Cube)
การพับกระดาษเป็นรูปเรขาคณิตทรงลูกบาศก์แบบแยกชิ้นประกอบ (Modular Origami Cube) เป็นแบบพับกระดาษลักษณะ Modular หรือแบบพับแยกชิ้นแล้วเอามาประกอบกัน กระดาษที่ใช้จะเป็นกระดาษสี่เหลี่ยมจตุรัส โดยที่ควรจะมีขนาดอย่างน้อย 3×3 นิ้ว ซึ่งจะต้องใช้ทั้งหมด  6 แผ่น
รูปขั้นตอนแสดงวิธีการพับกระดาษ (Origami Folding Instruction)
1. การพับกระดาษเป็นรูปเรขาคณิตทรงลูกบาศก์แบบนี้ จะใช้วิธีการพับแบบแยกชิ้นประกอบ โดยเราจะต้องใช้กระดาษสี่เหลี่ยมจตุรัสทั้งหมด หกแผ่น ขนาดที่เหมาะสมคือตั้งแต่ 3x3 นิ้วขึ้นไป
2. นำกระดาษในแต่ละแผ่นมา จากนั้นพับครึ่งกระดาษทางขนานสร้างรอยพับให้คม
 3. จะได้รอยพับกระดาษตามรูป
 4. ให้พับขอบขนานเข้ามาจรดกันตรงกลางที่รอยพับ ตามรูป สร้างรอยพับ รีดให้คมแล้วคลี่ออก
 5. จะได้ตามรูป
 6. จากนั้นที่ปลายบนซ้าย และล่างขวา พับมุมกระดาษเข้ามาให้จรดกับรอยพับตามภาพ
 7. พับกระดาษกลับเข้ามา
 8. ใช้ขอบของมุมที่พับเอาไว้เป็นแนว พับกระดาษตามแนวเฉียงเข้ามาตามรูป
 9. จากนั้นคลี่ออก
 10. เอากระดาษมุมบนขวาสอดเข้ามาในช่องของแผ่นล่างตามภาพ
 11. เสร็จแล้วรีดกระดาษให้เรียบ จะได้ดังรูป
 12. มุมซ้านล่างเอากระดาษสอดขึ้นไประหว่างคู่ของแผ่นบน
 13. รีดกระดาษให้เรียบ จะได้ตามภาพ
 14. พลิกกระดาษกลับหลัง จากนั้นพับโดยเอามุมจรดมุม ตามที่แสดงโดยลูกศรในภาพ
 15. จะได้ดังรูป
 16. เสร็จแล้วให้คลี่ออก
 17. วางรอไว้ แล้วให้ทำชิ้นส่วนประกอบแบบเดียวกันนี้อีกห้าชิ้น รวมเป็นทั้งหมดหกชิ้น
 18. เมื่อได้ครบหกชิ้นตามรูป ก็จะเริ่มประกอบ
 19. เอาแผ่นแรกขึ้นมา จากนั้นเอาปลายของแผนที่สองสอดเข้าไประหว่างกระดาษของแผ่นแรกตามภาพ
 20. ดันเข้าไปให้สุด
 21. เอาแผ่นที่สามมาสอดทางซ้าย
 22. ดันเข้าไปให้สุดเช่นกัน
 23. จากนั้นนำแผ่นที่สี่มาเอาปลายล่างของแผ่นแรกสอดเข้าไปในแผ่นที่สี่ตามรูป
24. เอามุมว้ายและขวาของแผ่นที่สี่สอดเข้าไปในแผ่นที่สองและสาม เหมือนกับรูปแบบที่เคยทำมา 
 25. มุมขวาของแผ่นที่สี่ สอดเข้าไปในช่องของแผ่นที่สอง
 26. มุมซ้ายของแผ่นที่สี่เสียบเข้าไปในช่องของแผ่นที่สาม
 27. เมื่อเสร็จแล้วจะได้ดังรูป
 28. วางตามภาพ
 29. เอาแผ่นที่ห้ามาวาต่อ
30. เอามุมของกระดาษแผ่นแรก สอดเข้าไปในแผ่นที่ห้า